จินตนาการล้ำเลิศมาก

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

2 วิธี ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็น

การตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็น มีด้วยกัน 2 วิธี

ตรวจสอบแรงดันของสารทำความเย็นภายใต้เงื่อนไขดังข้างล่างต่อไปนี้

• ติดเครื่องยนต์เร่งความเร็วรอบ 1,500 รอบ/นาที

• เปิดสวิตช์พัดลมไปที่ความเร็ว "HI"

• เปิดสวิตช์ A/C

• เลือกปรับตัวควบคุมอุณหภูมิไปที่ "MAX COOL" (เย็นสุด)

• ปิดประตูรถทั้งหมด
วิธีที่ 1. ตรวจดูสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา ตรวจเช็คสารทำความเย็นโดยสังเกตการไหลของสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา




A.สารทำความเย็นเหมาะสม มีฟองอากาศเล็กน้อยนั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบพอดี



B.สารทำความเย็นไม่เพียงพอ มีฟองอากาศอย่างต่อเนื่องนั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบมีน้อยเกินไป
C.ไม่มีสารทำความเย็น หรือมีมากเกินไป ไม่มีฟองอากาศนั่นหมายความว่าไม่มีสารทำความเย็นในระบบหรือเติมสารทำความเย็นมากเกินไป

ข้อแนะนำ: • โดยทั่วไป จำนวนของฟองอากาศที่มากจะยังมองว่ามีสารทำความเย็นไม่เพียงพอ แต่ถ้าสังเกตุไม่พบฟองมากไป แสดงว่ามีสารทำความเย็นพอดีแต่ถ้ามองจากกระจกมองน้ำยาแล้วไม่มีฟอง แสดงว่าปริมาณของสารทำความเย็นไม่มีหรือมีสารทำความเย็นมากเกินไป

• สำหรับคอนเดนเซอร์ ชนิด sub-cooling ต้องเติมสารทำความเย็นสักเล็กน้อยหลังจากถึงจุดที่ฟองหายไป ด้วยเหตุนี้อาจทำให้ตัดสินไปว่าเป็นปกติได้ ทั้งๆที่ปริมาณสารทำความเย็นน้อยกว่าค่ากำหนด

• ฟองอากาศอาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะมีปริมาณสารทำความเย็นที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งนี่เป็นผลจากการหมุนและสภาพความดันของสารทำความเย็น



วีธีที่ 2. ตรวจสอบระบบทำความเย็นโดยใช้ชุดแมนนิโฟลด์เกจ


1. แรงดันทางด้าน LO ต่ำ

• มีความชื้นเข้าไปในระบบปรับอากาศ

2. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านอ่านค่าได้ต่ำ

• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบไม่เพียงพอ

• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบรั่ว

3. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านจะอ่านค่าได้สูง

• มีปริมาณของสารทำความเย็นในระบบมากเกินไป

• การระบายความร้อนของคอนเดนเซอร์ไม่เพียงพอ

4. แรงดันที่เกจวัดด้านความดันต่ำจะอ่านค่าได้สูง และ แรงดันที่เกจวัดด้านความดันสูงจะอ่านค่าได้ต่ำ

• เกิดการรั่วในคอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศ


ค่าแรงดันที่แสดงบนชุดแมนิโฟลด์เกจ ค่าแรงดันที่กำหนด:

• ด้านแรงดันต่ำ 0.15-0.25 MPa(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)

• ด้านแรงดันสูง 1.37-1.57 MPa(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)



ข้อแนะนำ: ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 เมษายน 2553 เวลา 19:10

    สวัสดีค่ะ

    เนื่องจากเป็นมือใหม่หัดดูแลรถ น้องอ้วนที่ใช้อยู่ตอนนี้อายุ 8 ขวบกว่าค่ะ (ซีอาร์วี 2002)
    อยากมาแชร์ เรื่องแอร์ยอดฮิต และมีคำถามรบกวนขอความรู้จากคุณภาณุด้วยค่ะ

    เริ่ม จากเดือน พย ปีที่แล้วน้องอ้วนเข้าศูนย์ตามปกติ ออกมาได้อาทิตย์หนึ่งแอร์ไม่เย็น เลยกลับเข้าไป ศูยน์เปลี่ยนหน้าคลัชคอมให้ แต่การตัดต่อคลัชคอมก็มีเสียงดัง

    พอเดือนมีนาที่ผ่านมา คอมแอร์ล็อค
    เลย เอาเข้าอู่ค่ะ เปลี่ยนคอมแอร์ ล้างระบบ เปลี่ยนวาลว์ กรองไดเออร์ แผงระบายความร้อน (ไม่แน่ใจว่าเรียกถูก) ล้างตู้แอร์ และมีการเปลี่ยนลูกรอด้วยค่ะ
    อู่ที่เอาเข้าเขาเบิกอะไหล่ศูนย์ฮอนด้าให้ ทุกชิ้นคิดราคาเท่าศูยน์ ยกเว้น แผงระบายความร้อนใช้อะไหล่เทียบเพราะทางอู่แนะนำว่าคุณภาพโอเค ค่าเสียหาย เป็นค่าอะไหล่ 26500 โดยประมาณค่ะ (โดยทางอู่คิดค่าแรงทั้งหมด 1500 บาท)

    เปลี่ยน เสร็จเรียบร้อย เอาออกมาขับพบว่า ตอนออกตัวรถมีแรงออกตัวดีขึ้นกว่าตอนก่อนเปลี่ยนเล็กน้อย แต่ยังมีปัญหาคาใจดังนี้

    1 แอร์เย็น แต่คอมแอร์ตัดต่อบ่อย ทำงานประมาณ 45 - 60 วินาที แล้วตัดประมาณ 11 -14 วินาที แล้วกลับมาทำอีก
    2 คอมแอร์คราง ดังเหมือนตอนก่อนเปลี่ยน
    เวลาวิ่งบนทางด่วนหรือมอเตอร์เวย์ไปสักพักความเย็นจะเริ่มลดลงเอง สังเกตว่าพัดลมแอร์(เปิดอยู่ที่ Auto)ค่อยๆ เบาไป เริ่มมีเหงื่อซึมนิดๆ โดยเฉพาะที่ขาและหลังที่พิงเบาะรถอยู่ ต้องเร่งพัดลมไปถึงตรงกลางสวิทช์ ถึงจะกลับมาเย็นเป็นปกติ อาการนี้เป็นทั้งขับกลางวันและกลางคืน

    จากนั้น
    ได้ขับรถไปหาช่างไข่ หัวหมากแอร์มาค่ะ
    ผลการตรวจวัดความดันคอมแอร์เป็นดังนี้ค่ะ
    ความดันด้านต่ำปกติ แต่ความดันด้านสูงเวลาเร่งเครื่องไปที่ประมาณ 2500 -3000 รอบ ความดันคอมแอร์ขึ้นไปถึง 350 ซึ่งช่างไข่แจ้งให้ทราบว่าแรงอัดที่ปกติไม่ควรเกิน 200 ค่ะ ไม่อย่างนั้นมีโอกาสที่คอมแอร์จะน๊อค หรือเืสื่อมไว

    ช่างไข่แนะนำเหมือนที่ป๋าแนะไว้ข้างบนว่าให้กลับไปคุยกับร้านที่ทำให้ โดยให้บอกเขาว่า ขอเปลี่ยนรังผึ้งแอร์เพื่อตัดประเด็นเรื่องการระบายความร้อนไม่ทันทำให้คอมแอร์ตัดต่อบ่อย ถ้าหายก็จบ ถ้าไม่หายค่อยไปไล่ที่คอมแอร์อีกครั้ง

    วันนี้จึงกลับไปคุยกับช่างที่ทำรถให้ได้ความดังนี้ค่ะ
    1 แจ้งเรื่องคอมแอร์ตัดต่อบ่อย และมีเสียงดังเวลาคอมแอร์ทำงาน ช่างที่ร้านนี้เห็นด้วยว่าไม่ควรมีเสียงดัง แต่เขาไม่เห็นด้วยว่าเสียงเกิดจากคอมแอร์ ช่างสันนิษฐานว่าเป็นที่หน้าคลัช จากนั้นก็ขอเช็คกการทำงานของหน้าคลัช ซึ่งก็ปกติดี
    2. จากนั้นเขาก็พยายามฟังว่าเสียงมากจากไหน หาอยู่สักพัก หาไม่เจอ ฉันจึงขอนำรถกลับก่อน เค้าบอกว่าให้นำรถเข้ามาวันหลังจะหาให้ว่าเสียงมาจากไหน และแก้ไขให้
    3. แจ้งเขาเรื่องแรงดันด้านสูง ซึ่งช่างคนนี้ตอบว่า เวลาเร่งเครื่องแรงดันต้องขึ้นเป็นปกติ ไม่ผิดปกติแต่ประการใด

    จึงกลับออกมาจากร้านค่ะ

    แต่ก็ไม่เข้าใจที่ช่างคนนี้บอกนักเพราะว่า
    1. ถ้าคอมแอร์ไม่ตัดก็ไม่มีเสียงดัง ดังนั้นเสียงไม่น่าจะมาจากที่อื่น
    2. เรื่องแรงดันคอมแอร์ที่ช่างไข่และช่างคนนี้ให้ความเห็นไม่ตรงกัน ตัวฉันไม่ีมีความรู้จริงๆ มีเพื่อนๆ ท่านใด พอจะทราบไหมคะว่าจริงๆ แล้วคอมแอร์ที่ปกติต้องเป็นอย่างไรกันแน่คะ อยากจะแก้ให้จบจริงๆ ค่ะ

    ตอบลบ

เล่าสู่กันบ้าง "เรื่องฆ่าโง่แอร์รถยนต์" กรุณาอย่า! ระบุร้านซ่อม