จินตนาการล้ำเลิศมาก

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

Adele - Set Fire To The Rain (Live at The Royal Albert Hall HD Video wit...



เรียนรุ้แอร์รถยนต์จะได้ไม่เสียค่าโง่..แอร์รถยนต์..!

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ขับรถตอนน้ำท่วม...

เรียนรุ้แอร์รถยนต์จะได้ไม่เสียค่าโง่..แอร์รถยนต์..!

ขับรถตอนน้ำท่วม... ทำอย่างไร???


ข้อแรก ถ้าไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงอย่างไม่ต้องสงสัย และไม่ต้องกลัวว่ารถจะดับหรือปล่าว หรือจะมีปัญหาอะไรตามมา เช่น น้ำจะเข้ารถหรือปล่าว แล้วจะเกิดผลเสียต่ออุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ แต่ถ้ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราควรทำอย่างไรดีละ

ข้อ 1  คือ ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด ในขณะขับรถลุยน้ำลึก หรือแม้จะน้ำตื้นก็ตาม เพราะ สาเหตุที่รถดับ ส่วนใหญ่เกิดจากการเปิดแอร์แล้วขับลุยน้ำ ที่ผมบอกอย่างนี้ ก็เพราะว่า เมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน และอย่าลืมสิ ว่าเรากำลังลุยน้ำลึก อย่างที่ผมเจอวันนี้ ก็คิดว่าน่าจะเกินระดับพัดลม เพราะฉะนั้น ถ้าเราขืนเปิดพัดลมละก็ สิ่งที่จะตามมา ก็คือ ใบพัดจะพัดให้น้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้วคุณลองคิดดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น นั่นก็คือ เครื่องจะดับเอาง่าย ๆ หรือ ถ้าโชคดี หรือโชคร้าย ถ้าเครื่องไม่ดับ ใบพัดก็จะหมุน ๆ ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่า ขณะที่เราลุยน้ำ อะไรมันจะลอยมาบ้าง มันมีสารพัด ไม่ว่าจะเป็น ขยะ กิ่งไม้ ไม้หน้าสาม ถุงพลาสติก รองเท้า ... สิ่งของพวกนี้ มันมีโอกาสที่จะเข้ามาในห้องเครื่อง แล้วโดนใบพัดตัดจนใบพัดหัก ซึ่งถ้าใบพัดหัก แน่นอนว่า เราขับรถต่อไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะระบบระบายความร้อนจะมีปัญหา

ข้อ 2  ควรใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา ก็ใช้ประมาณเกียร์ 2 หรือสำหรับออโต้ ก็ใช้เกียร์ L ก็ได้ครับ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วสม่ำเสมอ อย่าหยุดอย่าเร่งความเร็วขึ้น

ข้อ 3  คือ ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง ๆ เพราะเห็นผู้ขับขี่หลาย ๆ คนมักจะเร่งเครื่องแรง ๆ เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะกลัวเครื่องดับ หรือเพราะกลัวน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นความคิดที่ผิดมาก ๆ แท้ที่จริงแล้ว การเร่งเครื่อง ยิ่งทำให้รถมีความร้อนสูงขึ้น เมื่อเครื่องมีความร้อนสูงขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และสิ่งที่จะตามมาก็เหมือนกับข้อ 1
ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะเข้าท่อไอเสียครับ เพราะต่อให้น้ำจะท่วมท่อไอเสีย แล้วคุณสตาร์ทรถอยู่ที่รอบเดินเบา แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาอย่างสบาย ๆ ต่อให้คุณจอดรถทิ้งไว้จนน้ำท่วมท่อไอเสียก็ตาม เมื่อคุณเข้าไปในรถ แล้วสตาร์ทรถ ผมกล้าพูดได้เลยทีเดียวติดแน่นอน (กรณีนี้ ที่ผมกล้าพูดว่ารถสามารถสตาร์ทติด คือ น้ำท่วม แค่ท่วมท่อไอเสียนะ ไม่ใช่ท่วมฝากระโปรงนะครับ) แต่สำหรับรถคาบู ผมเองก็ไม่แน่ใจ ว่าถ้าถึงขั้นน้ำท่วมท่อไอเสีย แล้วมันจะสตาร์ทติดหรือไม่ แต่สำหรับเครื่องหัวฉีดสบายใจได้ครับ

ข้อ 4. ควรลดความเร็วลง เมื่อ กำลังจะขับรถสวนกับอีกคันที่กำลังขับมา เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นชนคลื่น อย่างที่ผมบอก ซึ่งน้ำที่ปะทะระหว่างรถของเราและรถที่วิ่งสวนมา มันก็อาจทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในได้ หลังจากเราลุยน้ำลึกมา สิ่งที่ควรทำต่อ ก็คือ ข้อแรก พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรก ๆ หลังจากการลุยน้ำลึกมา มันจะเบรกไม่อยู่ และเป็นอันตรายมาก ถ้าเราไม่ทำการย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก สำหรับเกียร์ธรรมดา ต้องมีการย้ำคลัชเช่นเดียวกับการย้ำเบรก เพราะหลังการลุยน้ำมา อาจมีปัญหาคลัชลื่น จึงต้องทำทั้งย้ำคลัช และ ย้ำเบรก
อีกข้อหนึ่งคือ ไม่ควรดับเครื่องทันที ถึงแม้ถึงจุดหมายก็ตาม เพราะอาจมีน้ำค้างอยู่ในหม้อพักของท่อไอเสีย ซึ่งควรสตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มีไอออกจากท่อไอเสีย ก็ไม่ต้องตกใจ ก็ให้สตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้น้ำในหม้อพักมันระเหยออกไป เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ จะทำให้เกิดน้ำค้างอยู่ในหม้อพัก สิ่งที่จะตามมาคือ มันจะผุ


หลัง จาก วันที่ เรา ลุย น้ำ มา แล้ว ควร ทำ อย่างไร  !!! 

1. ล้างรถ รวมถึง การฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถด้วย รวมทั้งบริเวณซุ้มล้อ เพื่อล้างพวกเศษทรายต่าง ๆ ที่มันเกาะติดอยู่ หรือบริเวณใต้ท้องรถ ซึ่งอาจมีพวกเศษขยะ เศษหญ้า ติดอยู่ ต้องเอาออกให้หมด เพราะถ้าเศษหญ้าแห้งมันติดอยู่ใต้รถ อันตรายที่จะเกิดขึ้น มันใหญ่หลวงนัก หนัก ๆ หน่อย ไฟอาจไหม้ได้ ในคู่มือยังบอกเลยครับว่า รถที่ติดตั้งตัวกรองไอเสีย หรือ (CAT) ไม่ควรจอดรถไว้บริเวณที่มีต้นหญ้าขึ้นสูง เพราะอุณหภูมิของเจ้า Catalytic Converter นั้น มันค่อนข้างสูงมาก ๆ
2. สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่า มันมีสีผิดปกติหรือไม่ คือ ถ้ามีลักษณะคล้ายสี ชาเย็น นั่นแสดงว่า ต้องมีน้ำเข้าไปอยู่ในระบบเกียร์อย่างแน่นอน หรือถ้าเป็นไปได้ ก็เปลี่ยนน้ำมันเกียร์มันซะเลย เพื่อความสบายใจ เพราะก้านวัดน้ำมันเกียร์นั้นอยู่ค่อนข้างต่ำ และยิ่งรถผ่านการลุยน้ำลึก ๆ มา มันก็จะท่วมตัวเจ้าก้านวัด ซึ่งเป็นไปได้ที่น้ำจะซึมเข้าไปในระบบเกียร์ และมันก็จะทำให้ระบบเกียร์พัง
3. เช็คลูกปืนล้อ ซึ่ง พูดง่าย ๆ ว่า เจอน้ำทีไร ลูกปืนล้อมันก็จะดัง เวลาวิ่งความเร็วสูง ๆ อันนี้ทำใจไว้ได้เลย ว่าอาจต้องเปลี่ยน แต่ โดยปกติแล้ว เจ้าลูกปืนล้อมันจะพังเร็ว ก็เพราะสาเหตุที่ว่า จอดแช่น้ำมากกว่า แต่ถ้าวิ่งผ่านน้ำ โดยปกติ จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ถ้าแช่น้ำเมื่อไหร่ละก็ เตรียมตัวเสียเงินได้เลย
4. ตรวจสอบ พื้นพรมในรถ ว่า เปียกชื้นหรือไม่ เพราะ หลังการลุยน้ำลึกมา มีโอกาสมากที่น้ำจะซึมเข้ามาภายในห้องโดยสาร เพราะฉะนั้น ต้องเปิดผ้ายาง เปิดพรม เอามือ กดแรง ๆ ดู หรือลองเอากระดาษซับดูว่ามีน้ำอยู่หรือปล่าว ถ้ามีน้ำขังอยู่ภายในห้องโดยสาร ผมคิดว่า น่าจะถึงเวลารื้อพรมกันเลยละครับ เพื่อป้องกันปัญหาตามมา เพราะถ้าคุณไม่รื้อพรม แต่คุณอาจแค่เพียง เอาผ้าซับ ๆ ให้พื้นแห้ง แล้วจอดตากแดด จริง ๆแล้ว มันก็แห้งเหมือนกัน แต่สิ่งที่คุณไม่เห็นก็คือ สิ่งสกปรกที่มันยังค้างอยู่ในรถของคุณ ซึ่งคุณก็น่าจะรู้ว่า น้ำมันมีเชื้อโรคสารพัด แล้วเมื่อมันแห้ง มันก็จะแพร่เชื้อและเป็นเชื้อราอยู่ในพรม สิ่งที่อยากบอกต่อคือ นอกจากนี้ในรถยังมีระบบปรับอากาศที่มันจะเป็นตัวช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แล้วมันก็จะหมุนเวียน กลับไปกลับมา อยู่ในรถของคุณ นั่นก็เป็นสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ เพราะคุณก็สูดเอาเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าไปตลอดเวลา จะว่าไปแล้ว รถสมัยนี้ค่อนข้างออกแบบมาดี ลุยน้ำไม่ค่อยดับกันหรอก ถ้าทำอย่างที่ผมบอกนะครับ ผมว่า จากสายตา วันนี้ผมลุยน้ำลึกไม่น่าต่ำกว่า 50 ซม เพราะรถรุ่นใหม่ ๆ จะย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเจ้า ECU ไว้ในตำแหน่งที่สูง พูดง่าย ๆ ว่า อยู่ในรถกันเลยหละ รวมถึงกล่องฟิวส์ต่าง ๆ ติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่ค่อนข้างสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมนี่เหละ

ที่มา : forward mail

ล อ ง แ ก้ ไ ข ด้ ว ย ต น เ อ ง

วิธีการทำให้พรมแห้งส่วนใหญ่จะแนะนำให้เอารถไปจอดตากแดดเปิดประตูเอาไว้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกเหมือนกัน แต่ถ้าพรมเปียกมาก ๆ บางทีจอดตากแดดไว้สามวัน จนเบาะซีดหมดแล้ว พรมยังไม่แห้งเลยก็มี ดังนั้นก่อนนำรถไปตากแดด ควรจัดการ ซับเอาน้ำออกให้มากที่สุด วิธีจัดการเอาน้ำออกจากพรมได้ดีและมากที่สุดคือ การปูพื้นรถด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หนา ๆ ปล่อยให้ดูดซับน้ำก่อน แล้วหมั่นเปลี่ยน กระดาษหลาย ๆ ครั้ง ๆ จนกระทั่ง กระดาษเริ่มไม่ซับน้ำ แบบนี้เจอแดดดี ๆ ซักแดดสองแดด ก็แห้งแล้ว และระหว่างที่พรมเปียกอยู่นี้ตอนจอดรถให้เลื่อนกระจกแง้มไว้หน่อย เพื่อปล่อยให้ความชื้นระบายออกได้ จะช่วยให้รถไม่เป็นรา ส่วนรถที่มีกลิ่นตุ่ย ๆ อยู่ภายในรถ วิธีขจัดกลิ่นให้เอาถ่านดำ ๆ ที่ใช้หุงข้าวต้มแกงวางทิ้งไว้ในตัวรถ ถ่านมันจะช่วยดูดกลิ่น ช่วยให้หายเหม็นได้





ใ ช้ แ บ บ นี้ ไ ม่ มี ปั ญ ห า แ น่    !!!!

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เครื่องปรับอากาศรถยนต์ กับ ระบบอินเวิร์ตเตอร์

เครื่องปรับอากาศรถยนต์ กับ ระบบอินเวิร์ตเตอร์ โดยนำเทคโนโลยีการผันแปรของพลังงานมาควบคุมปริมาณการใช้กำลังขับของเครื่องยนต์ อย่างคุ้มค่า สำหรับระบบเครื่องปรับอากาศรถยนต์ คอมเพรสเซอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวใจหลัก จะเริ่มต้น และ หยุดการทำงานเป็นช่วงๆ ซึ่งการเริ่มต้นการทำงานของคอมเพรสเซอร์ในแต่ละครั้ง ต้องใช้กำลังขับของเครื่องยนต์ ด้วยเทคโนโลยีอินเวิร์ตเตอร์ คอมเพรสเซอร์จะถูกสั่งการให้ทำงานด้วยความเร็วที่เหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับการผันแปรของอุณหภูมิภายในและภายนอก โดยวิธีนี้จะช่วยประหยัดพลังงานซึ่งคล้ายกับนักวิ่งมาราธอน ซึ่งสามารถวิ่งระยะไกลได้โดยควบคุมความเร็วในการวิ่งอย่างมีประ สิทธิภาพ

ระบบอินเวิร์ตเตอร์


  ผู้ใช้จะได้รับทั้งความเย็นสบาย และความเงียบสงบ จากเทคโนโลยีอินเวิร์ตเตอร์ ซึ่งมีหลักการดังนี้ ระบบจะทำการเก็บข้อมูลจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่นอุณหภูมิ ความชื้น กระแสลม และอุณหภูมิภายนอก จากนั้นข้อมูลต่างๆจะถูกประมวลผลโดย  วาล์วควบคุมแรงดัน ( Control Valve for Automotive Air )  จะปรับเปลี่ยนความเร็วของคอมเพรสเซอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิห้องได้อย่างแม่นยำ (ช่วยลดการแปรปรวนของอุณหภูมิ)
ตัวอย่างในระบบแอร์รถ Optra
1. หมุนที่สีฟ้าคือทำความเย็น สีแดงคือ ลมร้อน (ฮีทเตอร์) สีขาว เอามาลมเย็นลมร้อนมาผสมกัน
2. จะปิดการทำงาน Com Air ต้องกดปุ่ม A/C เท่านั้นครับ
3. คอมแอร์ Optra จะไม่มีการตัดจะใช้ หลักการทำงานคล้ายแอร์บ้าน แบบ Inverter แต่จะไม่ละเอียดเท่า คอมแอร์ Optra จะทำงานในระบบ 100% และ 50% เท่านั้น ไม่มีการตัด หากปุ่ม A/C ยังถูกเปิดไว้อยู่ ซึ่งมันก็มีข้อเสียคือจะฉุดการทำงานเครื่องตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในทำงานระบบ 100% หรือ 50% ก็ตาม ส่งผลให้กินน้ำมันมากขึ้นเล็กน้อย และอัตราเร่งหายไปอีกนิดหน่อย ส่วนข้อดีก็คือ จะไม่มีการทำให้รอบเครื่องตก เหมือนคอมแอร์รถญี่ปุ่น และเมื่อความเย็นได้ที่แล้ว ก็จะเย็นแบบสม่ำเสมอ คงที่ตลอด จะสังเกตได้จากแอร์ของ Optra จะไม่มีลมอุ่นๆ ออกมาเลยครับ จะมีแต่ลมเย็นตลอดโดยมี วาล์วควบคุมแรงดัน ( Control Valve for Automotive Air ) เป็นตัวคุมปริมาณ แรงดันน้ำยาแอร์ ส่วนรถยี่ห้ออื่นๆ จะเป็นแบบตัดการ ทำงานที่ 0% กับ 100% ช่วงที่ตัดก็จะมีลมที่ไม่เย็นออกมาซักพักครับ หรือสังเกตอีกแบบก็ คือติดเครื่อง และเปิดแอร์ไว้ ของ Optra จะได้ยินเสียงคอมแอร์ ทำงานเพียงครั้งเดียว ตอนเริ่มเปิดแอร์ ส่วนรถที่ใส่แอร์แบบธรรมดา ติดเครื่องทิ้งไว้ คุณจะได้ยินเสียงการทำงานของคอมแอร์เป็นระยะๆ ครับ ช่วงคอมแอร์ทำงาน จะได้ยินเสียง หน้าคลัชดัง แท๊ก เป็นระยะๆ

วาล์วควบคุมสำหรับเครื่องปรับอากาศรถยนต์ (A / C) Variable Displacement
คอมเพรสเซอร์

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รถยนต์ กับ คู่ครอง



รถยนต์ กับ คู่ครอง

คน เรา เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ก็เริ่มให้ความสนใจ กับเพศตรงข้าม โดยมีลักษณะต่างๆๆ กัน เช่น นิสัย-บุคลิก เป็น คน..เงียบ ,ตลก .ฉลาด,ขยัน,ลุย และบุ๊ เป็นต้น โดยคิดว่าถ้ามีโอกาสจะมีแบบใด ประเภทใด เหมื่อนกับคนที่อยากมีรถไว้ซักคันในอนาคต ไม่ว่า จะเป็น รถเก๋งสองประตู (ตลก) ,เก๋งสี่ประตู (ฉลาด,ขยัน), รถแวน- ตู้(เงียบ) ,กระบะ(บู๊-ลุย) เป็นต้น พอเวลานั้นมาถึงบางคนก็อาจได้ตามที่หวัง แต่ก็มีที่ไม่ตรงตามที่หวังเพราะพอสัมผัสจริงก็ต่างไปจากที่คิดฝันไว้ เช่น คนที่ เงียบ - มักขาดชีวิตชีวา คนที่ ตลกอารมณ์ขัน-มักขาดสาระในชีวิตไม่มีจุดมุ่งหมาย คนที่ ฉลาดมีเหตุผล – มักทำให้ชีวิตเคลียด มีขั้นมีตอน คนที่ ขยันเอาแต่ งานมักไม่มีเวลาให้ขาดความเข้าใจกัน คนที่ลุย-บุ๊ -มักใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหาทำอะไรเร็วมักอยู่เหนือเหตุผล
เมื่อเข้าสู่วัย หนุ่ม-สาว ก็มีประสบการณ์หรือเห็นประสบการณ์คบเพศตรงข้าม มาจากสมัย วัยรุ่น โดยวัยนี้จะเป็นการคบหาศึกษากันอย่างจริงจังนานมากขึ้นมีการปรับตัวเข้าหากัน (เป็นแฟนกัน) เช่นคนที่เงียบ (รถตู้ ,แวน)ชอบเดินทางไกลต่างจังหวัด คบกับ คนอารมณ์ตลก (รถสองประตู,รถมินิคาร์)ชอบเที่ยวกลางคืน ช็อปห้าง (เงียบ+ตลก= ตลกเงียบ (เก๋ง สี่ ประตู ) ซึ่ง คนเงียบและคนตลกอาจไม่เคย ชอบเก๋ง สี่ ประตู มาก่อน แต่ด้วยที่ว่าพบคนละครึ่งทาง จึงคบกันได้ ในทางตรงข้ามคิดเอาเอง แต่โดยมากในวัยนี้มัก อดทน-อดกลั้น ได้ไม่นาน (ไม่เกิน 8 ปี) เหตุเพราะต่างก็ต้องการเป็นตัวเองก็หาคบคนใหม่ได้อีก

มาถึงวัย ครอบครัว เป็นที่ผ่านอะไรมามากจะตัดสินใจที่ต้องคิดแล้วคิดอีก ที่คิดทั้งหมดก็เพียงเพื่อไม่เสียใจที่หลังและ เป็นวัยที่สำคัญ เพราะได้รับบทเรียนจาก วัยรุ่น (เก็บของมูล),วัยหนุ่ม-สาว (ทดลองใช้ข้อมูล) มาสมควรแล้ว ดังนั้นวัยครอบครัวเป็นวัยที่ใช้งานจริง ไม่มีข้อยกเว้นถ้าเลือกคู่ครองผิด เพราะถ้าไม่อดทนเริ่มหาคู่ครองใหม่ ผลที่ได้รับคือจะเป็นคนที่ไม่มีความอดทน (รักง่ายหน่ายเร็ว) สำหรับรถยนต์ก็เช่นกัน เสียก็ซ่อม


วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปัญหาของคุณ คือ การบ้านของเรา


การที่หลายท่านโทรมาปรึกษาปัญหาแอร์รถยนต์ แต่ละปัญหามักแตกต่างกันไปทำให้เราเก็บไปคิดเป็นการบ้าน การที่โทรมาหลายท่าน ก็เป็นการบ้านหลายข้อ และเมื่อท่านนำรถมาซ่อมนั่นเป็นการตอบปัญหาของการบ้านที่เราทำ ดังนั้นท่านเปรียบได้กับอาจารย์สำหรับเรา ถึงแม้บ้างครั้งที่อาจารย์จะให้การบ้านมาแล้ว ไม่ยอมมาตรวจคำตอบจากเราก็ตาม เราก็ยินดีรับทำการบ้านที่ให้มา เพราะทุกการบ้านอาจเป็นประสบการณ์ที่เรา และผู้อื่นได้ศึกษาเพิ่มเติมหาคำตอบที่ชัดและถูกต้องที่สุด ( ถ้ายังไม่เครียร์ ) ในอดีตขอยอมรับว่าเสียใจมากที่อาจารย์ให้การบ้าน แต่ไม่ค่อยมาตรวจการบ้านที่ทำ บางครั้งทำไป 10 ข้อ มาตรวจ 3 ข้อ (โทร 10ราย มาซ่อม 3 ราย) แต่พอคิดอีกทีการบ้าน ทั่ง 10 ข้อ เราได้ความรู้มาทั้ง 10 ข้อไม่ใช่แค่ 3 ข้อ เพราะในการบ้าน 10 ข้อ


ถ้าข้อไหนทำการบ้านเองไม่มั่นใจว่าถูกต้อง ก็จะปรึกษาเพื่อน ๆ เพื่อขอแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน


ดังนั้นเราจึงเต็มใจรับการบ้านมาทำ แต่โจทย์ที่ดี และสมบูรณ์ คือนำปัญหา(การบ้าน)มาให้สัมผัส จะได้รับคำตอบที่ชัดเจนกว่าโทรปรึกษา



ข้อเตือน ลูกค้าควรใช้วิจารณาญาณในคำตอบทางโทรศัพท์เนื่องจากเราไม่ได้สัมผัสหน้างานโดยตรง
คุณ ภาณุ 081-642-0881

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

2 วิธี ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็น

การตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็น มีด้วยกัน 2 วิธี

ตรวจสอบแรงดันของสารทำความเย็นภายใต้เงื่อนไขดังข้างล่างต่อไปนี้

• ติดเครื่องยนต์เร่งความเร็วรอบ 1,500 รอบ/นาที

• เปิดสวิตช์พัดลมไปที่ความเร็ว "HI"

• เปิดสวิตช์ A/C

• เลือกปรับตัวควบคุมอุณหภูมิไปที่ "MAX COOL" (เย็นสุด)

• ปิดประตูรถทั้งหมด
วิธีที่ 1. ตรวจดูสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา ตรวจเช็คสารทำความเย็นโดยสังเกตการไหลของสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา




A.สารทำความเย็นเหมาะสม มีฟองอากาศเล็กน้อยนั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบพอดี



B.สารทำความเย็นไม่เพียงพอ มีฟองอากาศอย่างต่อเนื่องนั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบมีน้อยเกินไป
C.ไม่มีสารทำความเย็น หรือมีมากเกินไป ไม่มีฟองอากาศนั่นหมายความว่าไม่มีสารทำความเย็นในระบบหรือเติมสารทำความเย็นมากเกินไป

ข้อแนะนำ: • โดยทั่วไป จำนวนของฟองอากาศที่มากจะยังมองว่ามีสารทำความเย็นไม่เพียงพอ แต่ถ้าสังเกตุไม่พบฟองมากไป แสดงว่ามีสารทำความเย็นพอดีแต่ถ้ามองจากกระจกมองน้ำยาแล้วไม่มีฟอง แสดงว่าปริมาณของสารทำความเย็นไม่มีหรือมีสารทำความเย็นมากเกินไป

• สำหรับคอนเดนเซอร์ ชนิด sub-cooling ต้องเติมสารทำความเย็นสักเล็กน้อยหลังจากถึงจุดที่ฟองหายไป ด้วยเหตุนี้อาจทำให้ตัดสินไปว่าเป็นปกติได้ ทั้งๆที่ปริมาณสารทำความเย็นน้อยกว่าค่ากำหนด

• ฟองอากาศอาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะมีปริมาณสารทำความเย็นที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งนี่เป็นผลจากการหมุนและสภาพความดันของสารทำความเย็น



วีธีที่ 2. ตรวจสอบระบบทำความเย็นโดยใช้ชุดแมนนิโฟลด์เกจ


1. แรงดันทางด้าน LO ต่ำ

• มีความชื้นเข้าไปในระบบปรับอากาศ

2. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านอ่านค่าได้ต่ำ

• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบไม่เพียงพอ

• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบรั่ว

3. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านจะอ่านค่าได้สูง

• มีปริมาณของสารทำความเย็นในระบบมากเกินไป

• การระบายความร้อนของคอนเดนเซอร์ไม่เพียงพอ

4. แรงดันที่เกจวัดด้านความดันต่ำจะอ่านค่าได้สูง และ แรงดันที่เกจวัดด้านความดันสูงจะอ่านค่าได้ต่ำ

• เกิดการรั่วในคอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศ


ค่าแรงดันที่แสดงบนชุดแมนิโฟลด์เกจ ค่าแรงดันที่กำหนด:

• ด้านแรงดันต่ำ 0.15-0.25 MPa(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)

• ด้านแรงดันสูง 1.37-1.57 MPa(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)



ข้อแนะนำ: ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

ซ่อมแอร์รถยนต์ต้องมี ข้อมูล

ก่อนอื่นต้องยอมรับกันก่อนว่ายุคนี้ ไม่ว่างงานก็กระเป๋าว่าง ไม่มากก็น้อย จะเสียเงินซ่อมแอร์สักที่ ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้มากเข้าไว้ จะได้ไม่ เสียค่าโง่ ดังนั้นข้อมูลคือตัวแปลที่สำคัญ อาจกล่าวได้ว่า ตำรา เรียนแบ่งเป็น 3 ประเภท

-ตำราแบบแรก อ่าน-เข้าใจ ง่าย ถูกใจผู้อ่าน แต่มักไม่รายละเอียดผู้อ่านไม่ทราบที่มา-ที่ไปของเนื้อหา เทียบได้กับแอร์ไม่เย็น-เติมน้ำยา-400 บ.( ปัญหายังไม่จบ )

-ตำราแบบที่สอง อ่าน-อธิบาย-เข้าใจ บอกที่มาที่ไปพอสังเขบราคาจะสูงกว่าแบบแรก เทียบได้กับแอร์ไม่เย็น-วิเคราะห์-แก้จุดรั้วซึม-เติมน้ำยาแอร์ -800 บ.( ปัญหารั้วซึมจบ-เหตูที่รั้วยังไม่ทราบ )

-ตำราแบบที่สาม อ่าน-วิเคราะห์-อธิบาย-เข้าใจ บอกถึงที่่มาที่ไปของแต่ละเนื้อหาและวิเคราะห์เป็น เหตุและผล
เทียบได้กับ แอร์ไม่เย็น-วิเคราะห์-แก้จุดรั้วซึม-หาสาเหตุที่ทำให้รั้วซึม-เติมน้ำยาแอร์ -2,800บ.( ปัญหารั้วซึมจบ-เหตุที่รั้วทราบเป็นบางจุดๆๆ )

ที่กล่าวมานี้.. ..ให้ท่านเลือกเอาเองว่า ชอบตำราแบบไหนแต่ต้องแยก เงิน กับ ความเข้าใจระบบแอร์รถยนต์ ออกจากกันให้ได้ก่อนน่ะครับ เพราะ ตำรา คือ ร้านซ่อมแอร์ คุณคือคนอ่าน